ความเชื่อและพิธีกรรมคุณปู่ศรีราชา














                                                                    ความเชื่อเกี่ยวกับคุณปู่ศรีราชา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน มีผลต่อการยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนได้มากพอๆกับความเชื่อมั่นทางพุทธศาสนาตำนานคุณปู่ศรีราชาไม่ใช่เรื่องเล่าปรัมปราที่ตายแล้ว แต่ยังคงความ ศักดิ์สิทธิ์อยู่ในชุมชนยี่สารมีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งเนื้อหาในตำนานกล่าวถึงวีรบุรุษและการเกิดขึ้นของชุมชน อันเป็นการแสดงออกถึงตัวตนและรากเหง้าของชาวยี่สาร นับเป็นสำนึกร่วมของผู้คน ในชุมชนที่สะท้อนให้เห็นบูรณาการและการผสมกลมกลืนทางสังคมวัฒนธรรมของผู้คนใน ชุมชนนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ดังนั้น จึงทำการศึกษาถึงพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมที่สะท้อนจากตำนาน และพิธีกรรมเกี่ยวกับคุณปู่ศรีราชา ซึ่งได้มองไปที่พัฒนาการของชุมชนยี่สาร ว่าเป็นอย่างไร วิธีการนี้จึงจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ และเครื่องมือ ในการศึกษาที่ใช้ คือ ตำนานและประเพณีพิธีกรรม ซึ่งได้ศึกษาตำนานและพิธีกรรม ในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับบทบาท,หน้าที่,วัตถุประสงค์ และเจตนาทางสังคม ว่าเป็นอย่างไร จากการศึกษาพบว่า

  1. ชุมชนยี่สารผ่านการเปลี่ยนแปลงจากการเป็นชุมชนของการเป็นคนกลาง แลกเปลี่ยนสินค้าชายทะเลมาเป็นสังคมแบบ  Peasant  society  ที่ทำกินด้วยการ เลี้ยงกุ้ง ปลูกสวนป่าโกงกางและผลิตถ่านจากไม้โกงกางในปัจจุบัน
  2. การอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ทุรกันดารและขาดแคลนเช่นนี้ต้องอาศัย เครื่องมือทางความเชื่อที่สำคัญ คือ คุณปู่ศรีราชา ผ่าน ตำนานและพิธีกรรม เป็นความเชื่อและศรัทธาที่ยิ่งใหญ่พอจะทำให้เป็นกำลังใจให้ผู้คนสามารถปรับตัว อยู่ได้ กระบวนการปรับเปลี่ยนคุณปู่จากจีนเรือแตกเป็นคุณปู่ศรีราชาและเนื้อหา ในตำนาน สามารถให้ภาพที่ชัดเจนของกลุ่มคนจีนที่เข้ามาสู่แผ่นดินสยามชายฝั่ง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 อันเป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกันทั่วไปในพัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ และเห็นภาพกระบวนการปรับให้เป็นท้องถิ่น [localiztationของผู้คนและวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้
  3. ปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนว่าทั้งตำนานและพิธีกรรมมีบทบาทในการสร้าง บูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรม และตำนานคุณปู่ศรีราชายังคงมีบทบาท ความศักดิ์สิทธิ์ที่สะท้อนให้เห็นจากงานพิธีกรรม อย่างไรก็ตาม ยังได้สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งด้วยจากการปรับเปลี่ยนความเชื่อ และพิธีกรรมที่ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา เป็นผลมาจากการรับความทันสมัยจากการเปิดโลกทัศน์ติดต่อกันภายนอกมากขึ้น
  4. ตำนาน พิธีกรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในชุมชนยี่สาร ถูกนำมาเป็น เครื่องมือในการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนผ่านการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การจัดท่องเที่ยวในชุมชน การนำชมจากคนภายในที่พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าและงานเทศกาล                                                
ที่มา :  http://www.thaithesis.org/detail.php?id=57212



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น